วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แนะนำ รพ.สต.ปากโทก

ข้อมูลทั่วไป



ตำบลปากโทกเป็นตำบล ๑ ใน  ๑๙  ตำบล  ของอำเภอเมืองพิษณุโลก    จังหวัดพิษณุโลก    อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองพิษณุโลก   ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร   มีถนนพิษณุโลก-แควน้อย   ผ่านเป็นทางหลวงแผ่นดินเลข ๑๐๖๘  มีรถประจำทางสายพิษณุโลก-พรหมพิราม และพิษณุโลก-วัดโบสถ์ผ่าน แบ่งการปกครอง ออกเป็น  ๗  หมู่บ้าน  ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากโทก รับผิดชอบจำนวน ๗  หมู่บ้าน





        

               
          
        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากโทก    ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ ถนนสายพิษณุโลก – วัดโบสถ์    ตำบลปากโทก   อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากตัวเมือง ๑๒ กิโลเมตร    สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๔ ซึ่งเดิมเป็นสถานบริการผดุงครรภ์  โดยได้รับการบริจาค จากประชาชนจนกระทั่งปี  พ.ศ. ๒๕๒๐ สร้างเป็นรพ.สต. อาคารไม้ ในที่ราชพัสดุ  ปี ๒๕๔๐ ได้งบประมาณสร้างอาคารใหม่ เป็นอาคารตึกใต้ถุนสูง งบ ๑,๘๐๗,๐๐๐ บาท และเปิดให้บริการบนอาคารหลังใหม่ตั้งแต่พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เป็นต้นมา ซึ่งภายหลังได้มีการต่อเติมอาคารชั้นล่างเป็นห้องรักษาพยาบาลและงานบริการอื่นๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ และในปี ๒๕๕๔ เดือน มกราคม ได้รับการยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากโทก เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ    ดำเนินงานตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ทำหน้าที่ให้บริการแบบผสมผสานด้านรักษาพยาบาล  การส่งเสริมสุขภาพ   การป้องกันโรค   และการฟื้นฟูสภาพอย่างเป็นองค์รวม   เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันเป็นภารกิจหลัก  ให้บริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจ   อยู่ในชุมชน
            ปัจุบันให้บริการตามงานเวชปฏิบัติครอบครัว เป็นการบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ นำความรู้ทางด้านการแพทย์  และสังคมศาสตร์   มาผสมผสานการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันและรักษาโรค  การฟื้นฟูสภาพ   ได้อย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมให้แก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน   โดยจัดให้มีพยาบาลประจำชุมชน  ทำงานร่วมกับกรรมการชุมชน และ อสม.    เพื่อสนับสนุนให้เกิดความรู้  ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพพื้นฐาน    การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยจนสามารถพึ่งพาตนเองได้                                          


                                   ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข

  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากโทก  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕     บ้านแสงดาว รับผิดชอบ    ๗ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๑, หมู่ ๒,   หมู่ ๓ ,หมู่ ๔,   หมู่ ๕,  , หมู่ ๖ และหมู่ ๗ ตำบลปากโทก


 บุคลากรด้านสาธารณสุขประกอบด้วย

 

                                            ๑.นางฐาณวีร์   มีอุดร      
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล



              ๒. นายอุทัย  โตท่าโรง 
                  นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ


                                ๓. นางกรรณิการ์  โกศัย       
                                   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ


                               . นางวิภาพร  ขุนมธุรส      
                                  พยาบาลวิชาชีพชำ


         
                              ๕.นางผกามาศ  รอดสิน      
                                 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล



                              ๖.นางสาวสุกัญญา จันทร์พุฒ  
                                 เจัาหน้าที่ช่วยเหลือคนไข้


                              ๗.นางสาวน้ำค้าง  สุขสมบ้ติ    แม่บ้าน                                                    



                                     



                                                                   วิสัยทัศน์ (vision)

      
เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ที่ได้มาตรฐาน
พัฒนาระบบสุขภาพ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน  ภายในปี  ๒๕๖๕


พันธกิจ (MISSION)
๑.     เป็นเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็ง  พัฒนาทุกส่วนภาคโดยประชาชน/องค์กรชุมชน
๒.     พัฒนาระบบบริการสุขภาพ  ให้ประชาชนได้รับบริการอย่างเสมอภาค มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นธรรม
๓.     พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตรงกกับความต้องการและความพึงพอใจของประชาชน
๔.     พัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ที่ทันสมัยด้านวิชาการเพิ่มทักษะและพฤติกรรมการบริการ
๕.     จัดบริการทางการแพทย์ การป้องกัน และความคุมโรค ผสมผสานบริการเชิงรุกและเชิงรับอย่างต่อเนื่อง
๖.     พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เอื้อต่อการบริการประชาชน
๗.     พัฒนาระบบสุขภาพแบบองค์รวม ให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อบรรลุสุขภาวะที่ดีและยั่งยืน


                                                                                   สภาพทั่วไปของตำบล


ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่โดยทั่วไป  เป็นพื้นที่ ราบลุ่มมีแม่น้ำน่านไหลผ่านหมู่ที่ 1,3,4,5และ6 พื้นที่ หมู่ที่ 2 และ7  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนและไร่นา
การประกอบอาชีพ

             อาชีพหลักของประชาชนตำบลปากโทก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร  มีบางส่วนที่ประสบปัญหาทางภัยธรรมชาติ (น้ำท่วม)  จึงย้ายถิ่นไปขายแรงงานที่ต่างจังหวัด อาชีพรองได้แก่เลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ เป็ด เป็นการเลี้ยงรายย่อย

เศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ซึ่งยังประสบปัญหาของการขาดความรู้ทางด้านการเกษตรอย่างแท้จริง ซึ่งเกษตรกรยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตทางด้านการเกษตรตกต่ำ มีการระบาดของศัตรูพืช ปัญหาส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและภาวะเศรษฐกิจของประชาชน ทำให้เกิดภาระหนี้สินนอกระบบ ซึ่งภาครัฐและประชาชนร่วมมือกันแก้ไข โดยการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนพัฒนาหมู่บ้าน และสอนให้ชุมชนรู้จักการออม
สังคม

สังคมตำบลปากโทก เป็นสังคมชนบท โครงสร้างที่สมาชิกในสังคมแบบเครือญาติ ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย ส่วนใหญ่มีนิสัยเกรงใจกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันให้ความร่วมมือในสังคม เชื่อฟังผู้นำท้องถิ่น รักความสงบ ยึดถือความเชื่อแบบเก่า เปลี่ยนแปลงทัศนคติค่อนข้างยาก

ประเพณีวัฒนธรรม

       ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญต่างๆ ทางศาสนา และมีการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมและการละเล่นพื้นบ้านเช่น ประเพณี รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณีการบวชพระหมู่ และการละเล่นผู้สูงอายุ เช่น ลูกช่วง เปตอง และการต่อเพลงพื้นบ้าน


         

                  ทิศเหนือ                 ติดต่อ      ตำบลมะขามสูง  อำเภอเมืองพิษณุโลก
                                   ทิศใต้                       ติดต่อ      ตำบลหัวรอ  อำเภอเมืองพิษณุโลก
                 ทิศตะวันออก          ติดต่อ      ตำบลมะขามสูง  อำเภอเมืองพิษณุโลก
                 ทิศตะวันตก            ติดต่อ      แม่น้ำน่าน  และตำบลจอมทอง  อำเภอเมืองพิษณุโลก
                                              
                                                                            ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข
                       
                                                                ตำบลปากโทก  มีสถานบริการสาธารณสุข   ๑     แห่ง 

๑.   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากโทก   ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านแสงดาว รับผิดชอบ   ๗  หมู่บ้านได้แก่      หมู่ ๑, หมู่ ๒, หมู่ ๓, หมู่ ๔, หมู่ ๕, หมู่ ๖  และหมู่ ๗ตำบลปากโทก 

สภาพทางด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วัฒนธรรม  และความเชื่อถือ   


มีวัดที่ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบ จำนวน   ๓  วัด คือ   วัดไผ่ค่อม,วัดแสงดาวและวัดป่าสัก  สถานธรรม ไท้เหวียน จำนวน ๑  สถานธรรม ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ,มีการทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม และปฏิบัติศาสนกิจ ในวันสำคัญทางศาสนา รักษาประเพณีไทย เช่น  วันปีใหม่ ,วันสงกรานต์ ,วันเข้าพรรษา ,วันออกพรรษา ประเพณีการทอดกฐินการทอดผ้าป่า เป็นต้น



                                                         

                                                                    ข้อมูลด้านการศึกษา

                 มีโรงเรียนประถมศึกษาในเขตรับผิดชอบ 2 โรงเรียนและ    มีศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบลปากโทก   ๑    แห่ง     

                     




                                                        ข้อมูลด้านการปกครอง


                ตำบลปากโทก  มีการปกครองโดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  เป็นผู้ปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยในตำบลภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีองค์การบริหารส่วนตำบลปากโทก  เป็นผู้บริหารงบประมาณในการพัฒนาภายในตำบลป                                                                                                                                                                                                                     ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข


·       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                      จำนวน     ๑   แห่ง
·       วัด                                                                           จำนวน     ๓    แห่ง
·       สถานธรรม                                                             จำนวน     ๑ แห่ง
·       ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                             จำนวน    ๒     แห่ง
·       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                               จำนวน    ๑     แห่ง
   .  หอกระจายข่าว                                                        จำนวน   ๗    แห่ง
  
                                               ภาคีเครือข่ายสุขภาพ

                                                                                                                                                                                                    

·       ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข        จำนวน    ๑    ชมรม   จำนวนสมาชิก      ๑00   คน
·       ชมรมผู้สูงอายุ                                จำนวน   ๑     ชมรม   จำนวนสมาชิก     ๔0๗    คน  
·       ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว        จำนวน   ๑     ชมรม   จำนวนสมาชิก     ๕0    คน
·       ชมรม To Be Number One           จำนวน   ๑    ชมรม   จำนวนสมาชิก      ๑๕๔   คน     
·       ชมรมออกกำลังกาย                        จำนวน   ๑    ชมรม   จำนวนสมาชิก      ๖0    คน 
·       ชมรมจิตอาสา                                จำนวน    ๑    ชมรม   จำนวนสมาชิก      ๕0    คน


 

                                                        ข้อมูลประชากร


รพ.สต.ปากโทก    มีหมู่บ้านรับผิดชอบจำนวน    หมู่บ้าน จำนวน  ๑,๒๙0 หลังคาเรือน  ข้อมูลจากการสำรวจมีประชากร  รวม  ๔๗๗๔ คน   ชาย  ๒,๒๕๔ คน   หญิง  ๒,๕๒๐  คน    กลุ่มอายุ 0 – ๑  ปี  จำนวน  ๓๓ คน


ตารางที่  ๑    ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน ปี   ๒๕๕๗

หมู่ที่
ชื่อบ้าน
จำนวนหลังคาเรือน
จำนวนประชากร
จำนวน อสม.
ไผ่ค่อม
๑๘๐
๗๔๔
๑0
ตูม
๑๗๘
๖๔๖
๑๗
ไผ่ค่อม
๑๔๒
๖๐๘
๑๓
แสงดาว
๒๑๕
๗๕๖
๑๖
แสงดาว
๑๒๐
๔๒๖
๑๓
แสงดาว
๒๑๓
๗๑๔
๑๖
คุ้งหม้อ
๒๔๒
๘๘๐
๑๕
รวม
๑,๒๙๐
๔,๗๗๔
๑๐๐

  
                                                 ตารางที่  ๒    แสดงจำนวนประชากรแยกตามกล่มอายุ  ปี  ๒๕๕๗

กลุ่มอายุที่สำคัญ

รวม

0-๑  ปี
๑0
๓๓

0-๕ปี
๔๔
๓ต
๒๘
๒๔
๑๓
๒ช
๕๐
๒๒๔

๑0-๒๔  ปี
๑๓๗
๑๒๒
๑๒๔
๑๓๙
๘๒
๑๔๑
๑๘๘
๙๓๓

๑๕-๓๔   ปี
๑๗๑
๑๘๔
๑๖๙
๑๙๖
๑๓๑
๑๘๘
๒๖๖
๑๓๐๕

๑๕+  ปี
๕๙๕
๕๒๔
๕๒๐
๖๕๕
๓๖๔
๖๐๓
๗๒๐
๓๙๘๒

ญ ๓0-๖0  ปี
๑๖๖
๑๔๘
๑๔๔
๑๙๐
๑๒0
๑๘๖
๒๑ช
๑๑๗๓

ญ๓๕+ ๖๐ ปีขึ้นไป
๒๒๓
๑๘๗
๒๐๓
๒๖๓
๑๔๓
๒๔๗
๒๔๔
๑๕๑๐

๖๐+  ปีขึ้นไป
๑๓๖
๑๐๑
๑๐๕
๑๗๕
๗๘
๑๓๙
๑๒๙
๘๖๓

ญ ๑๕-๔๔ อยู่กินกับสามี
๑๒๑
๑๒๗
๑๐๖
๑๓๗
๘๘
๑๒๘
๑๗๓
๘๘๕


    ที่มา : บัญชี ๑ - ๘   ณ    มีนาคม  ๒๕๕๗

   ตารางที่  ๓ แสดงจำนวนหลังคาเรือน,ประชากรและ อสม.ที่รับผิดชอบ ปี ๒๕๕๗

หมู่ที่
ชื่อบ้าน
จำนวนหลังคาเรือน
จำนวนประชากร
จำนวน
อสม.
หลังคาเรือนรับผิดชอบเฉลี่ย
ปชก.รับผิดชอบเฉลี่ย
ไผ่ค่อม
๑๘0
๗๔๔
๑0
๑๘.0
๗๓.๒0
ตูม
๑๗๘
๖๔๖
๑๗
๑0.๔๗
๓๗.๗๖
ไผ่ค่อม
๑๔๒
๖๐๘
๑๓
๑0.๙๒
๔๖.๔๖
แสงดาว
๒๑๕
๗๕๖
๑๖
๑๓.๔๓
๔๗.00
แสงดาว
๑๒0
๔๒๖
๑๓
๙.๒๓
๓๒.๓๘
แสงดาว
๒๑๓
๗๑๔
๑๖
๑๓.๓๑
๔๔.00
คุ้งหม้อ
๒๔๒
๘๘0
๑๕
๑๖.๑๓
๕๗.๖0
รวม
๑,๒๙0
๔,๗๗๔
๑00
๑๒.๙0
๔๖.๖๖

  
 ที่มา : บัญชี ๑ , ๒    ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗
                        
               จากตารางที่   ๑, ๒ และ ๓   จะเห็นได้ว่าจำนวนกรอบอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ต่อประชากรและหมู่บ้านที่รับผิดชอบมีน้อยไม่เพียงพอต่อบทบาทภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ส่งผลกระทบต่อการพัฒนางานด้านสาธารณสุขในพื้นที่   ความรับผิดชอบอาสาสมัครสาธารณสุข     ต่อหลังคาเรือนพบว่าบางหมู่บ้านยังรับผิดชอบมากทำให้เกิดผลกระทบในการดูแลไม่ทั่วถึงและครอบคลุม


ทำเนียบเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากโทก


๑.   นางน้ำค้าง     เพ็งสลุต           จนท.ผดุงครรภ์                        ปี พ.ศ. ๒๕๐๘  -  ๒๕๒๕   
๒.   นายเทียบ      เพ็งคุ้ม              จนท.ควบคุมโรค                     ปี พ.ศ. ๒๕๐๙  -  ๒๕๒๖
๓.   นางวิไลวรรณ  สร้อยนาค       ผู้ช่วยพยาบาล                        ปี พ.ศ. ๒๕๒๓  -   ๒๕๓๖  
๔.   นายสถาพร    รัตนมณเฑียร  จนท.สุขาภิบาล                        ปี พ.ศ. ๒๕๒๓  -  ๒๕๒๙
๕.   นายบรรจง     สัสดีแพง         จนท.บริหารงานสาธารณสุข   ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ -   ๒๕๔๗
๖.   นายสถาพร    รัตนมณเฑียร  จนท.สุขาภิบาล                        ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ -   ๒๕๓๓
๗.   นางรัชนีวรรณ คำผงแดง      พยาบาลเทคนิค                        ปี พ.ศ. ๒๕๓๒  -  ๒๕๓๖
๘.   นางพิกุล        เอโหย่            จพง.สาธารณสุขชุมชน            ปี พ.ศ. ๒๕๓๖  -  ๒๕๓๗   
๙.   นางฐาณวีร์     มีอุดร              จพง.สาธารณสุข                      มี.ค. ๒๕๓๖  -   ปัจจุบัน
๑0. นางกรรณิการ์  โกศัย            พยาบาลวิชาชีพ                       มี.ค. ๒๕๓๙  -   ปัจจุบัน
๑๑. นายอุทัย        โตท่าโรง         นักวิชาการสาธารณสุข            มิ.ย. ๒๕๔๒  -  ปัจจุบัน
๑๒. นางเพ็ญศรี      โชตึก             พยาบาลเทคนิค                      มิ.ย. ๒๕๔๔-     ๒๕๔๕
๑๓. นางจารุณี     จินดาวัฒนชัย   พยาบาลวิชาชีพ                      ม.ค. ๒๕๔๘  -   ปัจจุบัน
๑๔. นางจันทนา     หอทสะอาด   พยาบาลวิชาชีพ                      ธ.ค. ๒๕๔๙ -    ปัจจุบัน
                                          
 อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ปัจจุบัน
             
             ๑. นางฐาณวีร์           มีอุดร                 ตำแหน่ง   เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ผอ.รพ.สต.)
             ๒. นายอุทัย               โตท่าโรง           ตำแหน่ง   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
             ๓. นางกรรณิการ์       โกศัย                 ตำแหน่ง   พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ(เวชปฎิบัติ)
             ๔. นางจารุณี             จินดาวัฒนชัย    ตำแหน่ง   พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ(เวชปฎิบัติ)
             ๕. นางจันทนา           หอมสะอาด       ตำแหน่ง   พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ(เวชปฎิบัติ)
             ๖.นางวิภาพร            ขุนมธุรส            ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ(เวชปฎิบ้ติ)
             6. นางสาวสุนัตตา    ฟักทอง              ตำแหน่ง   เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข      
              7. นางสาวสุกัญญา  จันทร์พุฒ           ตำแหน่ง   พนักงานช่วยเหลือคนไข้   
              8. นางผกามาศ         รอดสิน               ตำแหน่ง   พนักงานพิมพ์
          
ตารางที่  ๔    แสดงจำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุข และอัตราส่วนต่อประชากร ปี  ๒๕๕๗

บุคลากร
จำนวน
อัตราส่วนต่อประชากร
แพทย์  ( ปฏิบัติงาน   ๑ ครั้ง / เดือน )
๑: ๔,๗๗๔
พยาบาลวิชาชีพ ( เวชปฏิบัติ )
 ๑ : ๑,๕๙๑
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
 ๑ : ๑,๕๙๑
เจ้าหน้าที่ทั้งหมด
๑: ๕๙๖

 จากตารางพบว่า  จะเห็นได้ว่าจำนวนกรอบอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ต่อประชากรและหมู่บ้านที่รับผิดชอบมีไม่เพียงพอต่อบทบาทภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  แต่เนื่องจากพื้นที่ตำบลปากโทกเป็นพื้นที่เขตชนบทกึ่งเมืองทำให้การเข้าถึงชุมชนได้ยาก อาสาสมัครสาธารณสุขรับผิดชอบ ต่อหลังคาเรือนพบว่าบางหมู่บ้านยังรับผิดชอบเกิน(ม.๑  ๑๘ หลังคาเรือน/อสม. ๑ คน )ทำให้เกิดผลกระทบในการดูแลไม่ทั่วถึงและครอบคลุม  นอกจากนี้ยังมีประชากรแฝงอีกจำนวนหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนางานด้านสาธารณสุขในพื้นที่   

ไม่มีความคิดเห็น: